เกษียณอายุอย่างไรไม่ยากจน




ในขณะที่ “ปัญหาความยากจน” ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของประเทศไทย และเป็นปัญหาที่รัฐบาลกำลังพยายามเร่งขจัดให้หมดไปโดยเร็วที่สุด “ความยากจนของคนสูงวัย” กำลังมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น เพราะ “สังคมสูงวัย” กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยเร็วกว่าที่คาด

คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้นไม่แตกต่างจากคนชาติอื่นๆ แต่ขณะที่คนชาติอื่นเกษียณช้าลง คนไทยส่วนใหญ่ยังเกษียณที่ 60 ปีเหมือนเดิม ทำให้ช่วงชีวิตหลังเกษียณยาวนานขึ้นกว่าเดิม และหากมองไปในอนาคต คนไทยในขณะนี้มีลูกน้อยลง ดังนั้น การพึ่งพาลูกหลานในช่วงเกษียณจะยากขึ้นและท้าทายมากขึ้นตาม

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์” ซึ่งเป็นสถาบันเศรษฐกิจภายใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกบทวิจัย “ทำอย่างไร จะสูงวัย แบบไม่ยากจน” : ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 และบทวิจัย “ระบบจัดการรายได้ผู้สูงอายุ : ควรปรับเปลี่ยนอย่างไรให้เพียงพอและยั่งยืน” ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจ โดยจะนำมาสรุปง่ายๆเพื่อช่วยปรับแผนการเงินสำหรับผู้สูงวัยในอนาคตและเงินช่วยเหลือผู้สูงวัยจากรัฐบาลที่อาจจะต้องเพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ในงานวิจัยพบว่าประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ “เก็บออมด้วยตนเอง” ได้ไม่เพียงพอที่จะใช้ในยามเกษียณ ส่วนหนึ่งมาจากมีรายได้ไม่เท่ากันในวัยทำงาน ทำให้บางคนเก็บออมได้มาก ขณะที่บางคนลำพังค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนก็แทบไม่เพียงพอ นอกจากนั้น แม้ว่าจะมีเงินช่วยเหลือจากรัฐ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หรือ เงินบำเหน็จ และบำนาญจากระบบประกันสังคม รายได้ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพหลังเกษียณ

โดยในปี 2563 พบว่า มีผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ภาคบังคับ) ประมาณ 11.16 ล้านคน ซึ่งส่วนนี้จะได้รับเบี้ยชราภาพ ขณะที่มีแรงงานนอกระบบที่มีการสะสมเงินเพื่อไว้ใช้ยามเกษียณมี 5.1 ล้านคน โดยแบ่งออกเป็นผู้ประกันตน ม.39 จำนวน 1.7 ล้านคน ผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือกที่ 2 จำนวน 830,334 คน ทางเลือกที่ 3 จำนวน 155,854 คน และเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) 2.3 ล้านคน

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบตัวเลข 5.1 ล้านคน กับจำนวนแรงงานนอกระบบทั้งหมดซึ่งมีอย่างน้อย 19.7 ล้านคน จะพบว่าสัดส่วนแรงงานนอกระบบที่สมัครใจออมเงินเพื่อรองรับการเกษียณมีเพียง 26% เท่านั้น

ขณะเดียวกัน ในส่วนความช่วยเหลือของรัฐจะมีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นบำนาญพื้นฐาน โดยเบี้ยยังชีพที่จ่ายคิดเป็น 600-1,000 บาทต่อเดือน ขณะที่เบี้ยชราภาพ ในระบบประกันสังคมในปัจจุบันจะมีสูตรและเงื่อนไขที่ต่างกัน สำหรับ ม.33 และ 39 ซึ่งผู้ที่ส่งสมทบ 180 เดือนขึ้นไป มีสิทธิได้รับเงินบำนาญตลอดชีวิต

1.กรณีสมทบ 180 เดือน : เงินบำนาญ = 0.2 × ค่าเฉลี่ยของเงินเดือน และ 2.กรณีสมทบเกิน 180 เดือน (15 ปี) : เงินบำนาญ = (0.2 + 0.015 × (จำนวนปีที่สมทบ-15)) × ค่าเฉลี่ยของเงินเดือน คิดจากเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาทต่อเดือน (ค่าเฉลี่ยของเงินเดือน คิดจากเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายที่ทำงานและมีเพดานเงินเดือนเงินสมทบอยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน โดยขอรับบำนาญได้ตั้งแต่อายุ 55 ปี)

โดยหากมีลูกจ้างสามคนคือ A B และ C มีรายได้เฉลี่ยช่วงชีวิตการทำงานเป็น 50,000 บาท 20,000 บาท และ 8,500 บาทต่อเดือน ส่งสมทบเป็นเวลา 15 ปีและเกษียณที่อายุ 55 ปี A และ B จะได้เงินบำนาญต่อเดือนที่ 3,000 บาท และ C ได้ 1,700 บาท และจะได้เพิ่มขึ้นอีกหากจำนวนปีที่ส่งสบทบมากขึ้น แต่สูงสุดยังอยู่ที่หลักพันบาทต่อเดือน

นอกจากนั้น อีกทางของรายได้หลังเกษียณอาจจะมาจากการสะสมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นการออมภาคสมัครใจของแต่ละบริษัทเอกชน

ทั้งนี้ ตัวเลขความพอเพียงในการดำรงชีพของผู้สูงอายุในงานวิจัยอ้างอิงจากเส้นตัวเลขความยากจนคือ 3,000 บาทต่อเดือนต่อคน และหากเป็นการดำรงชีพแบบพออยู่ได้ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 6,000 บาทต่อเดือนต่อคนขึ้นไป

ดังนั้น ทางออกที่จะ “สูงวัย แบบไม่ยากจน” คือต้องมี “การออม” เพื่อเกษียณเพิ่มขึ้น โดยเป็นการบูรณาการเพิ่มขึ้นทั้งสองฝ่ายทั้งรัฐ และประชาชน เพราะผู้วิจัยมองว่า หากพึ่งเงินออมของประชาชนอย่างเดียวคงไม่สามารถทำได้

โดยภาครัฐจะต้องปรับทิศทาง “เงินช่วยเหลือ” ซึ่งเป็นการออมเงินจากภาครัฐเพื่อช่วยคนไทยในยามเกษียณให้เหมาะสมขึ้น เช่น การปรับสูตรบำนาญชราภาพในระบบประกันสังคม ผสมผสานกับการช่วยเหลือเพิ่มเติมอื่นๆ รวมทั้งปรับกฎเกณฑ์ยืดเวลาการเกษียณอายุ หรือให้ทำงานได้แม้ในวัยเกษียณ

สำหรับประชาชน การวางแผนออมเงินที่เหมาะสมในแต่ละเดือนในทุกช่องทางตั้งแต่เริ่มทำงานเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยควรจะอยู่ที่ 30% ของรายได้ขึ้นไป ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เรา “อยู่รอดได้สบายๆในยามเกษียณ”

ประอร นพคุณ

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

12 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago