เปิดที่มา “วันสื่อสารแห่งชาติ” 2565 มีจุดเริ่มต้นอย่างไร




วันสื่อสารแห่งชาติ 2565 คืออะไร มีที่มาอย่างไร เส้นทางการสื่อสารของไทยเริ่มต้นจากจุดไหน วันนี้ไทยรัฐออนไลน์ รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝาก

วันสื่อสารแห่งชาติ คืออะไร?

วันสื่อสารแห่งชาติ 2565 คือ วันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข ตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426 และได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระราชโอรสกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการ 

ที่มาวันสื่อสาร 4 สิงหาคม

เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสาร การติดต่อต่างๆ ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาการสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งนอกจากภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนยังเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและพัฒนาระบบการสื่อสารด้วยเช่นกัน

คณะรัฐมนตรี ณ ขณะนั้นจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความเปลี่ยนแปลงของการสื่อสารดังกล่าว และมีมติออกใหม่ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ว่าด้วยเรื่องกำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันสื่อสารแห่งชาติ” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและจุดเริ่มต้นของการสื่อสารของไทย

กิจกรรมในวันสื่อสารแห่งชาติ 2565

กิจกรรมในวันสื่อสารแห่งชาติจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกๆ ปี ดังนี้
1. พิธีถวายเครื่องสักการะเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
2. พิธีกล่าวคำปราศรัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
3. การจัดทำดวงตราไปรษณียากรเพื่อเป็นที่ระลึกวันสื่อสารแห่งชาติ 2565
4. การจัดนิทรรศการ เพื่อมอบข้อมูล ความรู้ และรายละเอียดต่างๆ

นิทรรศการวันสื่อสารแห่งชาติ 4 สิงหาคม นำเสนออะไรบ้าง?

ตั้งแต่พ.ศ. 2546 ที่มีการกำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมเป็นวันสื่อสารแห่งชาติ ก็ได้มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดนิทรรศการ ทั้งนี้หัวข้อการจัดนิทรรศการจะแตกต่างกันออกไป เช่น
– วันสื่อสารแห่งชาติ 2528 จัดนิทรรศการการสื่อสารกับเยาวชนแห่งชาติ
– วันสื่อสารแห่งชาติ 2530 จัดนิทรรศการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการสื่อสาร
– วันสื่อสารแห่งชาติ 2535 จัดนิทรรศการการสื่อสารเพื่อทศวรรษหน้า
– วันสื่อสารแห่งชาติ 2538 จัดนิทรรศการการสื่อสารกับการพัฒนาเทคโนโลยีการสนเทศ

จุดเริ่มต้นการสื่อสารของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน

ยุคเริ่มต้น
– เดิมทีสังคมไทยเน้นการติดต่อสื่อสารด้วยการพูดคุยเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า “ปากต่อปาก” จากนั้นจึงเริ่มมีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อส่งเสียงหรือส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายรับรู้ ตลอดจนการใช้สัตว์และคนเดินทางไปส่งข้อมูล
– พ.ศ. 2400 ชนชั้นสูงของไทยเริ่มมีการใช้โทรเลขในการติดต่อสื่อสาร 
– พ.ศ. 2404 คณะราชทูตปรัสเซียได้เดินทางมาเข้าเฝ้า พร้อมนำเทเลกราฟหรือโทรเลข รวมถึงเครื่องบรรณาธิการต่างๆ มาทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 4 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ทำให้สังคมไทยรู้จักโทรเลขเป็นวงกว้างมากขึ้น
– พ.ศ. 2418 รัชกาลที่ 5 พลิกวิกฤติเป็นโอกาสจากการตกเป็นทาสอาณานิคมและสร้างเส้นทางโทรเลขสายแรก ตลอดจนขยายออกสู่ภูมิภาคพร้อมๆ กับเส้นทางรถไฟ

ยุคอะนาล็อก
– พ.ศ. 2426 เปิดให้คนไทยทุกชนชั้นใช้โทรเลขได้ ทำให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
– พ.ศ. 2426 มีการสถาปนากรมโทรเลขและไปรษณีย์ขึ้นอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะมีการกำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมเป็นวันสื่อสารแห่งชาติ
– พ.ศ. 2426 ได้มีการเปิดให้คนเช่าใช้โทรศัพท์ ระบบแม็กนีโต ก่อนจะพัฒนามาเป็นโทรศัพท์ระบบไฟกลาง ตลอดจนวิทยุโทรศัพท์ในอีก 48 ปีต่อมา
– พ.ศ. 2441 ได้มีการรวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งเพิ่มจำนวนที่ทำการ เพื่อให้สะดวกและติดต่อกันได้ง่ายขึ้น
– พ.ศ. 2447 ได้มีการนำระบบวิทยุโทรเลขมาใช้งานเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นพื้นฐานการสื่อสารแบบไร้สายในยุคเวลาต่อมา
– พ.ศ. 2480 โทรศัพท์แบบอัตโนมัติเริ่มเข้ามาสู่สังคมไทยเป็นช่วงแรก
– พ.ศ. 2505 มีการให้บริการเทเล็กซ์ในกรุงเทพฯ สำหรับติดต่อสื่อสารกันได้เอง ไม่นานนักก็ได้มีเครื่องโทรสารเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกในการสื่อสารด้วยเช่นกัน

– พ.ศ. 2509 ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การโทรคมนาคมทางดาวเทียมระหว่างประเทศ ทำให้มีการถ่ายภาพผ่านดาวเทียมอวกาศครั้งแรก
– พ.ศ. 2514 มีการใช้ชุมสายโทรศัพท์ครั้งแรก เมื่อได้รับความนิยมเพิ่มสูง ก็มีการพัฒนาระบบสื่อสารเรื่อยมา
– พ.ศ. 2520 ก่อตั้งกสท.ทำหน้าที่ดูแลและให้บริการกิจการการติดต่อสื่อสารต่างๆ ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ
ยุคดิจิทัล
– พ.ศ. 2546 มีการก่อตั้งบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และแยกไปรษณีย์ออก เพื่อการควบคุมดูแลที่สะดวก
– มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพิ่มความสะดวกในการสื่อสาร
– มีการรับส่งสัญญาณเสียง ภาพ และข้อมูลอย่างสะดวก สามารถสื่อสารได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมทั้งมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่รองรับการทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทันสมัยมากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็นวันสื่อสารแห่งชาตินั้นมีเรื่องราวและประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน ดังนั้นหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงมีการจัดงานและจัดกิจกรรมเป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการสื่อสารไทยต่อคนรุ่นใหม่

ที่มา : ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานกสทช., ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสยาม และสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago