“เด็กเล็ก-โรงเรียน-โควิด” ปีการศึกษา 2564 – 2565 กับอนาคตที่ยังต้องลุ้น




แม้จะมีข่าวดีว่าเร็วๆ นี้เด็กไทยอายุ 12 ปีขึ้นไปอาจจะได้ฉีดวัคซีนโควิด mRNA แต่ปีการศึกษาหน้าก็ยังคงมีนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงที่ต้องเรียนอยู่บ้านไปอีกระยะ

การเรียนออนไลน์ไม่ใช่ทางออกสำหรับวัยอนุบาล และประถม ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองคำนวณคู่กับค่าเทอม บางครอบครัวที่ประสบปัญหาทางการเงินอาจตัดสินใจเปลี่ยนโรงเรียน หรือดรอปเรียน ส่วนการศึกษาแบบ Home School ก็เป็นทางเลือก แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่มีสูตรสำเร็จที่ทำได้กับเด็กทุกคน

การวางแผนการเรียนให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเล็กวัยอนุบาลและประถมเป็นสิ่งที่พ่อแม่คำนึงควบคู่กับค่าเทอม บางครอบครัวที่ประสบภาวะการเงินตัดสินใจดรอปเรียน หรือวางแผนการเรียนแบบ Home School วันนี้ไทยรัฐออนไลน์ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงการเรียนออนไลน์ในยุคโควิด รวมถึงวิธีการปรับตัวให้เด็กนักเรียนได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองได้สูงสุด

ดร.พัชรี ทรัพย์ทวีพร ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง เผยว่า “ผู้ปกครองกว่า 60% ประสบปัญหาความพร้อมทางการเงิน ทั้งเกิดจากการถูกเลิกจ้าง รายได้เปลี่ยนแปลง และความไม่แน่ใจว่าลูกจะได้รับความรู้คุ้มค่ากับค่าเทอมหรือไม่ ทางโรงเรียนจึงจำเป็นต้องสร้างทางเลือกให้กับนักเรียนและผู้ปกครองได้เข้ามาเรียนในช่วงเวลาการสอนแบบ Realtime และการเรียนย้อนหลัง”

ดร.พัชรี ทรัพย์ทวีพร ผู้อำนวยการโรงเรียนประสานมิตร ลำลูกกา คลอง 2 จ.ปทุมธานี

ผลกระทบด้านรายได้นี้จึงเป็นหลักที่ทำให้โรงเรียนเอกชนหลายแห่งต้องเลิกจ้างพนักงานในบางตำแหน่ง แต่ก็ยังคงต้องรักษาคุณภาพของการเรียนการสอนเอาไว้ให้มากที่สุด

“ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องทำงานไปด้วย เลี้ยงลูกไปด้วย ดังนั้นทางโรงเรียนต้องปรับตัวให้มีสื่อการเรียนการสอนทำเป็นคู่มือให้ใช้เล่นกับลูก และให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อยู่ที่บ้าน ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเรียนของแต่ละโรงเรียนไม่เหมือนกัน เด็กเล็กวัยอนุบาลน่าเป็นห่วงที่สุด ต้องฝากให้ผู้ปกครองปลูกฝังวินัยและระเบียบจากกิจกรรมประจำวัน และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ

ส่วนวัยประถมจะต้องให้เด็กเรียนรู้วิธีหาความรู้ โดยใช้วิธีสร้าง Personal Project ในวันที่มาเรียนที่โรงเรียนได้คุณครูจะสอนเนื้อหาวิชาการเพื่อเป็นหลักการและวิธีการ และหลังจากนั้นเด็กๆ ต้องเสาะหาวิธีแก้ไขปัญหา และมีคำถามกลับมาถามคุณครูเพื่อทำโปรเจกต์นั้นให้สำเร็จ”

“อนุบาล” พัฒนาการน่าเป็นห่วงที่สุด

เด็กวัยอนุบาลจะประสบปัญหาด้านพัฒนาการมากที่สุด เพราะสิ่งแวดล้อมที่บ้านกับโรงเรียนไม่เหมือนกัน เมื่อมาโรงเรียนเด็กๆ จะได้วิ่งเล่น ปีนป่าย ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ เมื่อต้องเรียนอยู่ที่บ้านคงไม่สามารถสร้างพัฒนาการให้ก้าวกระโดดเหมือนกับการมาเรียนที่โรงเรียนได้ ดังนั้นจึงต้องฝากผู้ปกครองสอนให้เด็กเรียนรู้กิจวัตรประจำวัน ใช้วิธีการกินอยู่ หลับนอน ให้เป็นระเบียบ และทางโรงเรียนต้องยอมรับว่าเทอมหน้าพัฒนาการบางอย่างของเด็กบางคนจะต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ที่โรงเรียน

“ประถม” จะได้รับการปลูกฝัง “คุณธรรม-จริยธรรม-ระเบียบวินัย” ไม่เต็มที่

ที่โรงเรียน ครูจะช่วยกระตุ้นเด็กได้ถึงตัว สังคมในโรงเรียนเป็นตัวจุดสถานการณ์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัยทางสังคม เด็กประถมกำลังอยู่ในวัยที่ได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากการใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนๆ แต่เมื่อต้องอยู่บ้านเวลานานอาจทำให้สิ่งเหล่านี้ขาดหายไป

ในมุมมองของผู้บริหาร ดร.พัชรี เน้นว่าเด็กประถมควรกลับมาเรียนที่โรงเรียนได้ แม้ว่ารูปแบบอาจจะเป็นสัปดาห์ละ 2 ถึง 3 วัน เพื่อให้ครูได้ติดตามพัฒนาการของเด็กๆ โดยเฉพาะการเป็นที่ปรึกษาตอบคำถาม และให้แนวคิดทางวิชาการเพื่อให้เด็กนำหลักการนี้ไปหาวิธีการแก้ไขปัญหาในโปรเจกต์ที่ได้รับมอบหมาย

“ผู้เลี้ยง” คือส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ที่บ้าน

‘โรงเรียนพ่อแม่’ เป็นสิ่งที่สามารถเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กนักเรียนที่บ้านได้ โควิดทำให้ผู้ใหญ่ต้องเข้ามาดูแลเด็กๆ โดยไม่ได้เตรียมตัว หน้าที่ดูแลเด็กนักเรียนเคยเป็นของโรงเรียน แต่เมื่อมาโรงเรียนไม่ได้ ความกดดันนี้กลับไปสู่ผู้ปกครอง ดร.พัชรี แนะนำว่า

“หากทางโรงเรียนต่างๆ มีที่ปรึกษาสำหรับผู้ปกครอง เพื่อเตรียมความพร้อมพ่อแม่ให้รู้จักแนวทางการจัดการอารมณ์ และสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมก็จะช่วยให้ดูแลลูกในช่วงที่โรงเรียนยังเปิดไม่ได้ โดยจัดครูหรือนักจิตวิทยาที่พ่อแม่คุยแล้วสบายใจ”

มุมมองอนาคตเทอมหน้า และปีการศึกษา 2565 ท่ามกลางโควิด

ต่างประเทศกำลังคิดค้นวิจัยวัคซีนโควิดสำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป หากสำเร็จจะช่วยให้เด็กทั้งโลกกลับมาใช้ชีวิตที่โรงเรียนได้ตามปกติ ระหว่างนี้คงไม่สามารถเปิดเรียนให้เด็กๆ มาเรียนได้ 100% โรงเรียนเอกชนบางโรงเรียนเริ่มวางแผนให้เด็กๆ มาเรียนแบบสลับกลุ่ม เพื่อให้เด็กเข้ามาพบกับครู แต่เชื่อว่าในเทอมหน้าทาง สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) จะหาวิธีให้เด็กๆ ไปโรงเรียนได้ หรือออกแบบวิธีการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19

หวังว่าเร็วๆ นี้จะมีเทคโนโลยีที่หยุดโรคระบาดนี้ได้ โควิดได้ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของคนทั้งโลกไปแล้ว ในด้านมิติการศึกษา หากโรงเรียนยังเปิดเทอมไม่ได้จะส่งผลระยะยาวต่อเด็กรุ่นใหม่หรือไม่นั้น โรงเรียนและผู้ปกครองควรร่วมกันออกแบบวิธีการเรียนรู้เพื่อรักษาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์.

ผู้เขียน : สีวิกา ฉายาวรเดช

Share

Recent Posts

New York City’s Sweetest Ice Cream Shops To Check Out

New York City is a haven for food lovers, and when it comes to ice… Read More

11 months ago

Explore Montenegro, The Hidden Gem of the Balkans

Montenegro, a hidden gem nestled in the Balkans, offers travelers a captivating experience with its… Read More

11 months ago

Spice Up Your Salad Game With These Tips To Make Salads More Exciting

Salads are a fantastic way to incorporate fresh and nutritious ingredients into our daily meals.… Read More

11 months ago

The Best Travel Destinations For Fitness Enthusiasts

  For fitness enthusiasts seeking to combine their love for travel and physical well-being, there… Read More

11 months ago

What To Do On Your First Visit To Edinburgh

Edinburgh, the capital city of Scotland, is a captivating destination that offers a perfect blend… Read More

12 months ago

Which Are The Consistently Most Popular Starbucks Drinks?

Starbucks has become a global phenomenon, captivating millions of coffee enthusiasts with its diverse menu… Read More

12 months ago